กิจกรรมวันที่ 22 พฤศจิกายน 2553

 ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล พร้อมที่มาของแห่งข้อมูลลงใน Blog ของตนเอง กำหนดส่งท้ายคาบเรียนที่ 2 ดังนี้


สืบค้นข้อมูล
โลก เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สาม โดยโลกเป็นดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ยืนยันได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ดาวเคราะห์โลกถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,570 ล้าน (4.57×109) ปีก่อน และหลังจากนั้นไม่นานนัก ดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลกก็ถือกำเนิดตามมา สิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาที่ครองโลกในปัจจุบันนี้คือมนุษย์
โลก มีลักษณะเป็นทรงวงรี โดย ในแนวดิ่งเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 12,711 กม. ในแนวนอน ยาว 12,755 กม. ต่างกัน 44 กม. มีพื้นน้ำ 3 ส่วน หรือ 71% และมีพื้นดิน 1 ส่วน หรือ 29 % แกนโลกจะเอียง 23.5 องศา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81 http://www.maceducation.com/e-knowledge/2502201100/10.htm

ตอบข้อ 1.ระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงดาวที่ขอบนั้น




สืบค้นข้อมูล  ภูเขาไฟระเบิด เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง การระเบิดของภูเขาไฟนั้นแสดงให้เห้นว่าใต้ผิวโลกของเราลงไประดับหนึ่ง มีความร้อนสะสมอยู่มากโดยเฉพาะที่เรียกว่า"จุดร้อน" ณ บริเวณนี้มีหินหลอมละลายเรียกว่า แมกมา และเมื่อมันถูกพ่นขึ้นมาตามรอยแตกหรือปล่องภูเขาไฟ เราเรียกว่า ลาวา
http://www.environnet.in.th/evdb/info/diaster/disaster06.html
ตอบข้อ 3.อัตราการเย็นตัวของลาวา



 
สืบค้นข้อมูล  เทือกเขาหิมาลัยเกิจากจากชนกันของขอบทวีปตรงส่วนที่เป็นแผ่นดิน ระหว่างอินเดียกับทวีปเอเชียจนดันเปลือกโลกให้ดันตัวสูงขึ้นมา เทือกเขาหิมาลัยนี้เป็นที่ตั้งของยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกที่รู้จักกันดี คือ ยอดเขาเอเวอร์เรสต์  และถูกพิชิตโดยนักไต่เขาชาวอังกฤษเมื่อปี 1953
 ตอบข้อ 3. การชนกันของแผนเปลือกโลก

 
สืบค้นข้อมูล   การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งรูปแบบและตำแหน่งที่ตั้ง จะปรากฏร่องรอย อยู่บนเปลือกโลก การศึกษาการลำดับชั้นหินจึงสามารถบอกประวัติความเป็นมาของพื้นที่นั้นได้ สำหรับโครงสร้าง ทางธรณีวิทยาที่ปรากฏในชั้นหิน เช่น รอยเลื่อน รอยคดโค้ง รอยชั้นไม่ต่อเนื่อง สามารถบอกความเป็นมาของพื้นที่นั้นได้เช่นกัน โดยปกติถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ชั้นของหินที่อยู่ด้านล่างจะมีอายุมากกว่าชั้นของหินที่อยู่ด้านบน ในกรณีที่เป็นหินตะกอน หินตะกอนที่อยู่ด้านล่างสุดจะมีอายุมากที่สุด เพราะเกิดการตกตะกอนสะสมตัวก่อน ส่วนหินตะกอนที่อยู่ชั้นบนจะเกิดการตกตะกอนและสะสมตัวทีหลังจึงมีอายุน้อยกว่า

รูปแสดงชั้นหินที่สะสมตัวในพื้นที่แห่งหนึ่ง
จากรูปชั้นหินที่สะสมตัวในพื้นที่แห่งหนึ่งสามารถบอกอายุของชั้นหินเหล่านี้ได้ กรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ชั้นหินที่มีอายุมากที่สุด คือ ชั้นหินดินดานที่อยู่ล่างสุด ชั้นหินปูนจะมีอายุน้อยลง ชั้นหินกรวดมนจะมีอายุน้อยลงอีก ส่วนชั้นหินทรายจะมีอายุน้อยที่สุด เพราะอยู่ชั้นบนสุด ในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก เนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค แผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด อาจทำให้ชั้นหินที่อยู่ในแนวราบเกิดการเอียงเท แต่ก็ยังสามารถบอกอายุของชั้นหินได้ เช่น ในกรณีที่ชั้นหินมีมุม เทชันมากและถูกบีบอัดเป็นรอยคดโค้งรูปประทุนหงาย (รูปถ้วยหงาย) หินที่อยู่ตรงกลางประทุนหรือในถ้วยจะมีอายุน้อยที่สุด บางครั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกอาจทำให้การเรียงลำดับชั้นหินเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ในกรณีที่เปลือกโลกชั้นบนถูกกัดกร่อนด้วยปัจจัยต่างๆ ชั้นหินบนสุดอาจถูกทำลายจนไม่เหลือสภาพก็ได้ และเมื่อมีตะกอนมาสะสมใหม่ ลำดับชั้นหินจะเปลี่ยนไปจากเดิม ในกรณีที่ไม่มีชั้นหินและซากดึกดำบรรพ์ปรากฏให้เห็น นักธรณีวิทยาจะต้องนำโครงสร้างทางธรณีที่เกิดขึ้นในหินทุกชนิดที่เกิดร่วมกันมาพิจารณาหาความสัมพันธ์
หินอัคนีซึ่งเป็นหินที่มีอายุมากที่สุดและอยู่ชั้นล่างสุดใต้หินตะกอนที่มีอายุน้อยกว่า ได้รับอิทธิพลจากความร้อนใต้เปลือกโลกกลายเป็นของเหลวหนืด แทรกตัวผ่านหินตะกอนขึ้นมาชั้นบน แข็งตัวเป็นชั้นหินที่อยู่เหนือหินตะกอน ชั้นหินอัคนีที่อยู่เหนือชั้นหินตะกอนจะมีอายุมากกว่าชั้นหินตะกอนที่อยู่ด้านล่าง ดังนั้นการศึกษาอายุของชั้นหินจึงต้องพิจารณาด้วยว่าเปลือกโลกบริเวณที่ศึกษามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางธรณี หรือไม่ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็จะลำดับอายุของชั้นหินได้ตามปกติ แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะต้องศึกษาการเปลี่ยนแปลงนั้น และต้องอาศัยหลักฐานอื่นประกอบ เช่น หาอายุของซากดึกดำบรรพ์ที่พบในหิน เป็นต้น
การศึกษาธรณีประวัตินอกจากจะทำให้รู้ความเป็นมาของพื้นที่ที่ศึกษาแล้ว ยังสามารถจำกัดขอบเขตของหินให้ชัดเจนขึ้น และนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม นอกจากนั้นยังสามารถนำไปใช้ในการสำรวจหาทรัพยากรธรณี เพราะหินแต่ละช่วงอายุจะเกิดในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันทำให้มีทรัพยากรธรรมชาติต่างกันด้วย การศึกษาข้อมูลทางธรณีวิทยาจากลักษณะของชั้นหินและซากดึกดำบรรพ์ ทำให้นักธรณีวิทยาสามารถบอกลักษณะโครงสร้างและสภาพแวดล้อมของสถานที่นั้นในอดีตที่ผ่านมาได้

ตอบข้อ 4. หินดินดาน


  สืบค้นข้อมูล ต่อมาทวีปทางตอนใต้จะแตกและเคลื่อนแยกจากกันเป็นอินเดีย อเมริกาใต้และแอฟริกา ในขณะที่ออสเตรเลียยังคงเป็นส่วนหนึ่งของกอนด์วานาดังภาพ TRIASSIC จนเมือประมาณ 65ล้านปี ผ่านมา มหาสมุทรแอตแลนติกแยกตัวกว้างขึ้น ทำให้แอฟริกาเคลื่อนที่ห่างออกไปจากแอฟริกาใต้ แต่ออสเตรเลียยังคงเชื่อมอยู่กับแอนตาร์กติกา และอเมริกาเหนือกับยุโรปก็ยังคงต่อเนื่องกัน ดังภาพ CRETACEOUS ต่อมามหาสมุทรแอตแลนติกขยายกว้างขึ้นอีก อเมริกาเหนือกับยุโรปจึงแยกจากกัน อเมริกาเหนือโค้งเว้าเข้าเชื่อมกับอเมริกาใต้ ออสเตรเลียแยกออกจากแอนตาร์กติกา และอินเดียได้เคลื่อนไปชนกับเอเชีย จนเกิดเป็นภูเขาหิมาลัย ซึ่งทำให้เกิดเป็นมหาสมุทร
ดังที่เป็นอยู่ปัจจุบัน (Present day)
http://www.bantan.ac.th/blog/?p=2490
ตอบข้อ  2.แผ่นยูเรเซียกับแผ่นอินเดีย



สืบค้นข้อมูล
สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว
         การเกิดแผ่นดินไหวมีสาเหตุมาจาก 2 สาเหตุใหญ่ สาเหตุแรกเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อน และแรงระเบิดจากการทำเหมืองแร่ ส่วนสาเหตุที่สองเป็นสาเหตุหลักของการเกิดแผ่นดินไหว โดยเป็นการเกิดตามธรรมชาติอันเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ทั้งนี้ทฤษฎีกลไกการเกิดแผ่นดินไหวที่ยอมรับกันในปัจจุบันมี 2 ทฤษฎีคือ
         ทฤษฎีว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก โดยแผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการคดโค้ง โก่งตัวอย่างฉับพลัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว
         ทฤษฎีว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ โดยแผ่นดินไหวมาจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน กล่าวคือ เมื่อรอยเลื่อนเกิดการเคลื่อนตัวถึงจุดหนึ่งวัตถุจะขาดออกจากกันและเสียรูปอย่างมาก พร้อมทั้งปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมาในรูปของคลื่นแผ่นดินไหว และหลังจากนั้นวัตถุจะคืนตัวกลับสู่รูปเดิม
ตอบข้อ  4.การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก


 สืบค้นข้อมูล ซากดึกดำบรรพ์ หมายถึง ซากและร่องรอยของบรรพชีวิน(Ancient life)ที่ประทับอยู่ในหิน บางแห่งเป็นรอยพิมพ์ บางแห่งก็มีซากเดิมปรากฏอยู่ รอยตีนสัตว์ มูลสัตว์ ถ่านหิน ไม้กลายเป็นหิน รวมอยู่ในหมู่ซากดึกดำ-บรรพ์นี้เหมือนกัน ถ้าเป็นไฟลัมหรือชั้นของชีวินดึกดำบรรพ์ใดที่สามารถใช้บ่งบอกอายุหินได้ เรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์ดรรชนี(Index fossil) การศึกษาซากดึกดำบรรพ์ เรียกว่า เพลิโอนโทโลยี ซึ่งบ่งชี้ว่า สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นบนโลกอย่างน้อย 3,500 ล้านปีมาแล้ว ตั้งแต่นั้นมาก็เกิดสายพันธ์ของสัตว์และพืช ซึ่งส่วนใหญ่ได้สูญพันธ์ไปแล้ว การศึกษาซากที่ยังหลงเหลืออยู่ทำให้เราได้เห็นชีวิตในยุคดึกดำบรรพ์ที่อยู่บนผิวโลก
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/34/page/fossil.html
ตอบข้อ 4. หินตะกอน

    

สืบค้นข้อมูล ชั้นธรณีภาคประกอบไปด้วยชั้นเปลือกโลกและชั้นหินหนืดตอนบน ซึ่งเป็นชั้นนอกสุดของโลกที่มีความแข็ง และถูกแบ่งตามลักษณะองค์ประกอบทางเคมีโดยมีแนวความไม่ต่อเนื่องของโมโฮเป็นแนวรอยต่อ ธรณีภาควางตัวอยู่บนชั้นฐานธรณีภาคที่มีความอ่อนตัวกว่า ร้อนกว่า และลึกกว่า รอยต่อระหว่างชั้นธรณีภาคและชั้นฐานธรณีภาคจะแยกโดยดูจากลักษณะการตอบสนองต่อแรง ชั้นธรณีภาคเป็นชั้นที่มีความแข็งต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานานตามเวลาทางธรณีและสามารถแตกหักได้ แตกต่างจากชั้นฐานธรณีภาคที่มีความยืดหยุ่นกว่า
ชั้นธรณีภาคแบ่งได้เป็น ธรณีภาคมหาสมุทร มีความสัมพันธ์กับแผ่นมหาสมุทรและรองรับพื้นที่ที่เป็นมหาสมุทรทั้งหมดของโลก มีความหนาประมาณ 50-100 กิโลเมตร และหนาน้อยมากในบริเวณที่เป็นเทือกเขากลางสมุทร และธรณีภาคพื้นทวีป มีความสัมพันธ์กับแผ่นทวีป มีความหนาตั้งแต่ 40-200 กิโลเมตร
ตอบข้อ 3. ชั้นเนื้อโลก

<><>

 



             

        



1 ความคิดเห็น:

  1. ให้คะแนนค่ะ^^

    1. ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน = 16 คะแนน
    2. มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน = 8 คะแนน
    3. บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน( URL) = 16 คะแนน
    4. วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5 คะแนนตามความเหมาะสม = 38 คะแนน

    รวม 78 คะแนน

    ตอบลบ